วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ทุกวันนี้เราได้ใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันมากขึ้นแต่เพื่อนๆทราบหรือไม่ว่าคอมพิวเตอร์ของเรานั้นมีภาษาของมันด้วย....มารู้จักกันเลย

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

16ก.ย.

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำคัญคือหากไม่มีภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดชุดคำสั่งในการทำงาน
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้จะต้องมีการเขียนโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานโปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมานั้น จะต้องเขียนไปตามกฎเกณฑ์ของภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
1. ภาษาเครื่อง (Machine language)
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language)
3. ภาษาชั้นสูง (High-level language)หรือ ภาษารุ่นที่ 3 (3GL:Third Generation Language)
4. ภาษาชั้นสูงมาก (Very high-level language)หรือภาษารุ่นที่ 4 (4GL)
1. ภาษาเครื่อง (Machine language)
เป็นภาษาพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ แต่ละคำสั่งประกอบขึ้นจากกลุ่มตัวเลข 0 และ 1 ซึ่งเป็นเลขฐานสอง
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language)
เป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ข้อความ แทนกลุ่มของตัวเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากขึ้น การทำงานของโปรแกรมจะต้องทำการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้ตัวแปลที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler)
3. ภาษาชั้นสูง (High-level language) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยมีลักษณะเหมือนกับภาษาอังกฤษทั่วไป ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฮาร์แวร์แต่อย่างใด ภาษานี้จำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาเครื่องเช่นกัน เรียกตัวแปลนี้ว่า คอมไพเลอร์ (compiler)หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)อย่างใดอย่างหนึ่ง
 1)  ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัด เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียน โปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครง สร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้
     2)  ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็น ภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและ รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
     3)  ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็น ภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอน เขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
นอก จากนี้    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน    ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา    ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
     4) ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้ง ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์
   5)  ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษา ซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้า ไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอก จากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า “ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)
   6)  ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็น ภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก  ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม   แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
  7)  การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษา นี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
   8)  ภาษาจาวา (Java)
พัฒนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบ ปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอก จากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งาน ระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า “แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้
   9)  ภาษาเดลฟาย (Delphi)
เป็น ภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิ ชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล  ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้ งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม
    4.  ภาษาระดับสูงมาก 
 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย
     5. ภาษาธรรมชาติ 
 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย





อ้างอิง



https://kroobee.wordpress.com/2010/09/16/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/








วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โซเชียลเน็ตเวิร์คกับนักเรียนและสังคมไทย

ก่อนอื่นเลยเราต้องมารู้จักก่อนว่า Social Network คือออะไร
โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ
 
 

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น

1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น
 
2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter
 
3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้
 
 
ซึ่งโดยส่วนใหญ่โซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีบทบาทมากที่สุดของดิฉันและเพื่อนก็คือโซเชียเน็ตเวิร์คแบบเว็บไซต์  นั่นก็จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากเฟสบุ๊คนั่นเอง
ซึ่งเฟสบุ๊คนี่แหละเป็นสิ่งที่คนไทยเรานิยมแชร์สิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปถ่าย ความเห็นด้านต่างๆของสังคมหรือไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ต่างๆของเว็บไซต์ที่นำมาแชร์ลงในเฟสบุ้ครวมไปถึงการท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆที่ตนเองได้ไปกับครอบครัวหรือเพื่อนๆหลายคนมองว่าเฟสบุ๊คไม่มีประโยชน์แต่จริงๆแล้วเฟสบุ้คนั้นมีประโยชน์กับชีวิตประจำวันของเราและมีบทบาทกับชีวิตเรามากแต่คนมองภาพลักษณ์และใช้อย่างไม่ถูกวิธี  มาพูดถึงประโยชน์ของมันสำหรับของวัยรุ่นหรือกลุ่มนักเรียนกับเลยดีกว่า  เราสามารถคุยหรือติดต่อกับเพื่อนครูอาจาร์ยทางนี้ได้และสามารถส่งงานทางนี้ได้และในกรณีที่โทรศัพท์มือถือของเราไม่สามารถใช้วีดีโอคอลได้เฟสบุ้คนี่แหละช่วยให้เราติดต่อหรือโทรแบบเห็นหน้าได้โดยไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟนแพงๆเลยเพราะว่าเฟสบุ๊คได้พัฒนามาถึงขั้นนี้แล้ว ดังนั้นโซเชียลเน็ตเวิร์คจึงเข้ามามีบทบามสำคัญกับกลุ่มนักเรียนและสังคมไทยเป็นอย่างมาก
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไอรอนแมน (Iron man)

ไอรอนแมน ( Iron man ) เป็นตัวละครส่วนหนึ่งของมาร์เวลคอมิกส์ เป็นที่รู้จักกันดีในหน้าของนักรบใส่เกราะซึ่งมักจะใส่เกราะ แดง-เหลือง เป็นชุดประจำตัวอยู่เสมอ เขาเป็นคนที่ร่ำรวยมาก ในคฤหาสน์มีที่เก็บชุดเกราะมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งใช้ในงานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะออกรบ ไปต่อสู้กับศัตรู หรือไปทำสงคราม ไอรอนแมนปรากฏตัวใน อเวนเจอร์ ซึ่งเป็นที่รวมกลุ่มคนที่เป็นยอดมนุษย์
นอกจากในการ์ตูนแล้ว ไอรอนแมนยังเป็นหนึ่งในซูเปอร์ฮีโร่ที่ออกเฉิดฉายบนจอเงินในภาพยนตร์หลายเรื่อง ด้วยฝีมือการแสดงของโรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ทำให้คัวละครไอรอนแมนมีชีวิตขึ้นบอจอภาพยนตร์ได้ ไอรอนแมนปรกฏตัวในภาพยนตร์ของตัวเอง (มหาประลัยคนเกราะเหล็ก ,มหาประลัยคนเกราะเหล็ก 2 ,มหาประลัยคนเกราะเหล็ก 3) รวมถึงภาพยนตร์ที่รวมพลซูเปอร์ฮีโร่หลายคนเอาไว้ (ดิ อเวนเจอร์ส, ดิ อเวนเจอร์ส: มหาศึกอัลตรอนถล่มโลก)




ชีวประวัติตัวละครและจุดกำเนิดของตัวละคร

แอนโทนี่ เอ็ดวาร์ด “โทนี่” สตาร์ค มหาเศรษฐีหนุ่มนักประดิษฐ์เพลย์บอย พ่อค้าอาวุธสงครามที่ออกแบบอาวุธให้กองทัพสหรัฐใช้ต่อสู้กับพวกกองโจรเวียตกง แต่เมื่อเขาไปเยือนสมรภูมินี้ เขาตกเป็นเหยื่อกับระเบิดและมีสะเก็ดชิ้นหนึ่งฝังใกล้หัวใจและถูกหัวหน้ากองโจร วอง-ชู จับตัวไป เขาบังคับให้สตาร์คสร้างอาวุธจรวดมหาประลัยให้แล้วจะรักษาสตาร์คให้ แต่สตาร์คกับเพื่อนร่วมคุมขังยินเซนร่วมมือกันสร้างชุดเกราะช่วยยืดอายุสตาร์ค และหลบหนีได้ เพราะมันจะทำให้เขาแข็งแกร่ง เร็วกว่าธรรมดา แต่แล้วยินเซนกลับต้องสละชีวิตเพื่อถ่วงเวลาให้สตาร์คชาร์จพลังงานชุดเกราะ ด้วยความแค้นเขาจึงทำลายฐานทัพของวอง-ชูจนหมดสิ้นและหนีกลับสหรัฐได้ แต่เขาต้องใส่เกราะตลอดชีวิตเพื่อป้องกันสะเก็ดระเบิดในร่างกาย ไม่เพียงแต่ต้องใส่เกราะ โทนี่ยังคงต้องชาร์จพลังงานมันตลอดเวลา ไม่งั้นพอพลังงานหมดเขาจะตาย
เขาได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเกราะของเขา (ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เขาทำไปตลอด) การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเรียกว่าไมเนอร์ เชนจ์ (Minor Change) เพราะโครงสร้างรูปร่างเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนสีจากสีเทาเป็นสีทอง และเป็นที่มาของฉายาโกลเด้น อเวนเจอร์ (Golden Avenger) ที่เปลี่ยนเพราะสีเทามันดูน่ากลัวไปและพัฒนาให้มันเก็บใส่กระเป๋าได้! และยังติดตั้งอุปกรณ์มากมาย
หลังจากโทนี่สตาร์คได้ใช้ชีวิตในฐานะไอรอน แมน สตาร์คมีผู้ช่วยชื่อ "เป็ปเปอร์ พ็อต" และคนขับรถส่วนตัวของสตาร์ค "แฮปปี้ โฮแกน" ซึ่งเป็นอดีตนักมวย สตาร์คได้บอกว่าไอรอน แมนเป็นบอดี้การ์ดส่วนตัวของเขา เพื่อปกปิดตัวจริง สตาร์คได้ไปร่วมทีมกับ ดิ อเวนเจอร์ และได้ปรับปรุงชุดเกราะให้ทันสมัยขึ้น เป็นชุดเกราะสีแดง-ทอง หรือไอรอน แมน MK III (Classic Armor) และได้ปะทะกับศัตรูต่างๆมากมาย เช่น คริมสัน ไดนาโม, แมนดาริน, เมลเตอร์
สตาร์คได้พบกับสิ่งต่างๆมากมาย และได้พบกับหน่วย S.H.I.E.L.D (Strategic Homeland Intervention, Enforcement and Logistics Division) หรือแปลได้ไทยว่า กองงานยุทธวิธีจัดระเบียบกำลังพิเศษแห่งมาตุภูมิ โทนี่คอยสร้างอุปกรณ์และอาวุธต่างๆ ให้กับหน่วย S.H.I.E.L.D และฮีโร่คนอื่นมากมาย โทนี่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเรื่องหัวใจของเขา กับการปรากฏตัวของกลุมมาเฟีย แม็กเจีย และสาวร้าย วิธนี่ย์ ฟรอสท์ กลุ่มแม็กเจียได้คอยจำหน่ายอาวุธให้เหล่าวายร้ายต่างๆ และเรื่องที่สตาร์คถูกแทนที่โดยตัวปลอมซึ่งก็คือหุ่นกลหรือ LMD (Life Model Decoy) ที่เกิดอุบัติเหตุทำให้มันคิดว่ามันคือสตาร์คจริงๆ สตาร์คจึงต้องต่อสู้กับหุ่นจำลองของเขา และทำลายมันลง

หลายคนคงสงสัยว่าพระเอกของไอรอนแมนคือใครมีชื่อว่าอะไรไปดูกันเลย....
เขาคือ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ซึ่งเป็นคนเดียวกับคนที่เล่นเรื่อง เชอล็อค โฮมส์ นั่นเอง







วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

          เทคโนโลยีนั้นสำคัญต่อชีวิตของเราอย่างมาก เช่น การเดินทางโดยใช้ gps ช่วยบอกทาง การใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกับผู้ร่วมงาน การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูล เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราและยากที่จะอยู่โดยขาดสิ่งเหล่านั้นที่คอยอำนวยความสะดวก
ที่มา : jungmazsky.wordpress.com

        นักเรียนอย่างเราก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและสืบค้นข้อมูลเช่นกัน เพราะสมัยนี้ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าเราจะมีห้องสมุดก็ตาม แต่สิ่งที่ใกล้ตัวคือคอมพิวเตอร์นั้น ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกลเพื่อหาหนังสือสามสี่เล่นแล้วกลับบ้าน นั่นคือตัวอย่างของประโยชน์ของเทคโนโลยี ซึ่งประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้น เราสามารถอธิบายคร่าวๆได้ดังนี้

1. สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
2. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
3. ช่วยจัดการข้อมูลให้มีระเบียบมากขึ้น
4. เก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างง่ายดายและสะดวก
5. ลดอุปสรรคต่างๆในด้านระยะทาง เช่น การติดต่อสื่อสารทางไกล เป็นต้น
ที่มา : www.oknation.net
          แม้ว่าเทคโนโลยีมีประโยชน์ก็จริง แต่ก็มีโทษเช่นกัน เช่น การโจรกรรมข้อมูลเพื่อนำไปใช้อย่างผิดวิธีและก่อให้เกิดปัญหาแก่เจ้าของข้อมูลนั้น หรือการที่ติดเทคโนโลยีบางอย่างมากไปก็มีผลต่อการใช้ชีวิต เป็นต้น ดังนั้นเราควรใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด